เรื่องย่อ ของ ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ

สำเนาหนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม" เฉพาะส่วนสาธารณสมบัติ (คลิกเพื่ออ่านทั้ง 636 หน้า)

จิตรสรุปว่า "ไทย" เป็นคำที่คนไทยเรียกตัวเอง ส่วน "สยาม" เป็นคำที่ชนชาติอื่นเรียกคนไทย จิตรทำการค้นคว้าหาที่มาของคำทั้งสองโดยปราศจากอคติชาตินิยมที่ว่าคำทั้งสองต้องมีความหมายในทางที่ดีหรือเป็นมงคลและมาจากภาษาที่สูงส่งอย่างบาลีสันสกฤตเท่านั้น

จิตรมีความเห็นเกี่ยวกับคำว่าสยามดังนี้ "ต้องแปลว่า ลุ่มน้ำ หรือเกี่ยวกับ น้ำ ซึ่งสอดคล้องกับสภาพชีวิตของสังคมชมรมกสิกรรมในที่ราบลุ่มของคนชาวไต" โดยมีที่มาจากภาษาหนานเจ้าตามที่ระบุไว้ในพงศาวดารราชวงศ์หยวน

ส่วนคำว่าไทย จิตรเชื่อว่ามีวิวัฒนาการและความหมายมาเป็นลำดับ เกิดจากการปฏิเสธการดูหมิ่นของชนชาติอื่นที่ว่าคนไทยเป็นคนบ้านป่าเมืองเถื่อน โดยเริ่มแรก "ไท" มีความหมายว่า คนสังคม หรือ คนเมือง ต่อมาเป็นวรรณะหรือฐานันดรทางสังคม ซึ่งแปลว่าเสรีชน และภายใต้ความคิดรัฐชาติในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงเกิดความหมายในยุคใหม่ที่แปลว่า อิสระ เอกราช และผู้เป็นใหญ่